เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [8. วัตต ขันธกะ] 5. ภัตตัคควัตตกถา
ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าวเพราะอยากได้มาก ไม่เป็นไข้ไม่พึงออกปากขอแกงหรือ
ข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ไม่พึงมุ่งตำหนิมองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ไม่พึงทำคำข้าว
ให้ใหญ่เกิน พึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม ไม่พึงอ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ขณะ
กำลังฉัน ไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ขณะที่ในปากมีคำข้าว ไม่พึงพูดคุย ไม่
พึงฉันโยนคำข้าว ไม่พึงฉันกัดคำข้าว ไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มตุ่ย ไม่พึงฉันสลัดมือ
ไม่พึงฉันโปรยเมล็ดข้าว ไม่พึงฉันแลบลิ้น ไม่พึงฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ ไม่พึงฉันทำ
เสียงดังซู้ด ๆ ไม่ พึงฉันเลียมือ ไม่พึงฉันขอดบาตร ไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก ไม่พึงจับ
ภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
ภิกษุผู้เถระไม่พึงรับน้ำก่อนจนกว่าภิกษุทั้งหมดฉันเสร็จ เมื่อเขาถวายน้ำ พึงใช้
มือทั้ง 2 ประคองบาตรรับน้ำ พึงถือล้างอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ถ้ามีกระโถน
พึงเทน้ำลงกระโถนอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า “กระโถนอย่าเลอะน้ำ ภิกษุทั้งหลาย
ที่อยู่ใกล้ อย่าถูกน้ำกระเซ็น สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ” ถ้าไม่มีกระโถน พึงเทน้ำลงบน
พื้นดินอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า “ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ใกล้ อย่าถูกน้ำกระเซ็น
สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ” ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
เมื่อจะกลับ ภิกษุนวกะทั้งหลายพึงกลับก่อน ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกลับทีหลัง
พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุลงไป
ในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน
พึงพูดเสียงเบา ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่ง
แขนไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอว
ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปใน
ละแวกบ้าน
ภิกษุทั้งหลาย นี้ คือวัตรในโรงฉัน โดยที่ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติชอบในโรงฉัน
ปฐมภาณวาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :232 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [8. วัตต ขันธกะ] 6. ปิณฑจาริกวัตตกถา
6. ปิณฑจาริกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
[365] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายนุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย
ไม่มีมารยาท เที่ยวบิณฑบาต ไม่สังเกตเข้าบ้านบ้าง ไม่สังเกตออกไปบ้าง รีบร้อน
เข้าไปบ้าง รีบร้อนออกไปบ้าง ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง
กลับเร็วเกินไปบ้าง
ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง ไม่ทันสังเกตเข้าไปบ้าน สำคัญว่าประตูบ้าน
เข้าไปยังห้องหนึ่งซึ่งมีหญิงเปลือยกายนอนหงายอยู่ ภิกษุนั้นได้เห็นหญิงเปลือยกาย
นอนหงายอยู่นั้น จึงรู้ว่า “นี้ไม่ใช่ประตู แต่เป็นห้องนอน” จึงออกจากห้องนั้นไป
สามีของหญิงนั้นเห็นนางเปลือยกายนอนหงายก็เข้าใจว่า “ภิกษุรูปนี้ทำมิดีมิร้าย
ภรรยาของเรา” จึงจับภิกษุนั้นทำร้าย
ลำดับนั้น หญิงนั้นตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น ได้ถามสามีดังนี้ว่า “พี่ ท่านทำร้าย
ภิกษุทำไม”
เขาตอบว่า “ภิกษุนี้ทำมิดีมิร้ายเธอ”
นางพูดว่า “ภิกษุนี้ไม่ได้ทำมิดีมิร้ายฉัน ภิกษุนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย” แล้วให้
ปล่อยภิกษุนั้นไป
ภิกษุนั้นกลับไปอารามแล้วบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุอื่นทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตรจึงนุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท เที่ยวบิณฑบาตเล่า
ไม่สังเกตเข้าบ้านบ้าง ไม่สังเกตออกไปบ้าง รีบร้อนเข้าไปบ้าง รีบร้อนออกไปบ้าง
ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง กลับเร็วเกินไปบ้าง”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า ฯลฯ จริงหรือ”
ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :233 }